ลานจอดรถหน้าท่าเทียบเรือ กองเรือยุทธการ

ลานจอดกว้าง ปลอดภัย  สามารถจอดรถบัสได้ 2-3 คัน และรถยนต์ส่วนตัวได้มากถึง 30 คัน

  • car-park-01
  • car-park-02
  • car-park-03
  • car-park-04
  • car-park-05
  • car-park-06
  • car-park-07
  • carpark-2022-001
  • carpark-2022-002
  • carpark-2022-003

ร้านค้าสวัสดิการหมวดเรือ

ร้านค้าให้บริการสินค้า และของที่ระลึก 

  • shop-01
  • shop-02
  • shop-03

ห้องรับรองบนท่าเทียบเรือลอยอังคาร

ท่าเทียบเรือมีห้องรับรองปรับอากาศ และ ร้านกาแฟ klangaow coffee สำหรับบริการผู้ที่ใช้บริการเรือลอยอังคาร และประชาชนทั่วไปในราคาย่อมเยาว์ พร้อมบรรยากาศวิวทะเลบริเวณอ่าวดงตาล สัตหีบ

  • rest-room-2022-01
  • rest-room-2022-02
  • rest-room-2022-03
  • rest-room-2022-04
  • rest-room-2022-05
  • rest-room-2022-06
  • rest-room-2022-07-1
  • rest-room-2022-07
  • rest-room-2022-08
  • rest-room-2022-09
  • rest-room-2022-10
  • rest-room-2022-11

"เรือของพ่อ …เรือ ต.91"

เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.91 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ไทยสามารถออกแบบและสร้าง "เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง" เองได้

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริว่า กองทัพเรือเราควรต่อเรือประเภทนี้ไว้ใช้เองบ้าง ทั้งนี้ด้วยเรือยนต์รักษาฝั่งมีบทบาทสำคัญ เช่น ในการปราบปราม และป้องกันการลักลอบลำเลียงอาวุธ และกำลังคนของฝ่ายก่อการร้ายเข้ามาในน่านน้ำอาณาเขตของประเทศเรา

ในระหว่างการต่อเรือลำนี้ กองทัพเรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ โดยทรงให้สถาบันวิจัยและทดสอบแบบเรือของต่างประเทศช่วยทดสอบแบบเรือลำนี้ทางเทคนิคต่าง ๆ ให้ และได้พระราชทานคำแนะนำจนถึงทรงร่วมทดลองเรือในทะเลด้วยพระองค์เอง

กองทัพเรือยังคงสานต่อพระราชปณิธานอย่างต่อเนื่องสืบมา ในการปรับปรุงแบบเรือและสร้างเพิ่มเติม เช่น เรือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98, ต.99, ต.991, ต.994 ซึ่งทำให้กองทัพเรือสามารถสร้างเรือรบเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างรั้วทางทะเลให้เข้มแข็ง ทั้งยังทำให้องค์บุคคลของกองทัพเรือได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ และก้าวไปสู่การต่อเรือขนาดใหญ่ต่อไป

โดยเรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,960 ตัน ลำล่าสุดที่กองทัพเรือสามารถต่อเองได้ ก็คือ "เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์" เป็น "เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (OPV)" ในชั้น "เรือหลวงกระบี่" ซึ่งได้ซื้อแบบเรือจากต่างประเทศมาดำเนินการสร้างเอง และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ยังสามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีได้อีกด้วย เรือ ต.91 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2511 ได้ปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของไทย รับใช้ชาติ และปกป้องประชาชนมาอย่างยาวนาน กว่า 51 ปี จึงปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 กองทัพเรือ โดยกองเรือยุทธการ จึงมีความตั้งใจอนุรักษ์เรือรบลำสำคัญของไทยลำนี้ไว้ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เรือของพ่อ "เรือ ต.91" บริเวณชายหาดหน้าอ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยใช้ทุนจากกิจกรรม "เดิน-วิ่ง เทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของสัตหีบ อันจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนสืบไป

  • ship-91-001-1
  • ship-91-001-2
  • ship-91-001-3
  • ship-91-002-1
  • ship-91-002
  • ship-91-003
  • ship-91-004
  • ship-91-005
  • ship-91-sattahipcity-001
  • ship-91-sattahipcity-002
  • ship-91-sattahipcity-003
  • ship-91-sattahipcity-004
  • ship-91-sattahipcity-006
  • ship91-2022-001
  • ship91-2022-0016
  • ship91-2022-002
  • ship91-2022-003
  • ship91-2022-004
  • ship91-2022-005

ความเป็นมาของโครงการ

เมื่อปี 2503 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จประพาทยุโรป ได้ทรงทอดพระเนตรกิจการการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งของกองทัพเรือเยอรมัน จึงทรงมีพระราชดำริว่า “กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่างๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ” จึงทำให้กองทัพเรือ โดยกรมอู่ทหารเรือรับสนองพระราชดำริโดยการต่อเรือในชุดเรือ ต.91 ขึ้น ซึ่งในระหว่างการดำเนินการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ อันเกิดจากกระบวนการต่อเรือ รวมถึงทรงเป็นธุระติดต่อกับสถาบันวิจัยและทดลองแบบเรือแห่งชาติของประเทศอังกฤษ ให้ทำการทดสอบแบบของเรือ ต.91 ให้ แม้แต่การทดสอบเรือในทะเล พระองค์ก็ทรงเสด็จไปร่วมทดสอบด้วยพระองค์เอง ทั้งยังทรงตรวจแก้ข้อผิดพลาดต่างๆ จนทำให้การต่อเรือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จไปประกอบพิธีปล่อยเรือ ต.91 ลงน้ำ และนับจากนั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเรือในชุด ต.91 เพิ่มเติมอีกคือ ต.92, ต.93, ต.94, ต.95, ต.96, ต.97, ต.98 และ ต.99 ในระหว่างปี 2514-2530

คุณลักษณะของเรือ

  • หมายเลข 91
  • วางกระดูกงู 12 ก.ค. 2510
  • ปล่อยเรือลงน้ำ 9 พ.ค. 2511
  • ขึ้นระวางประจำการ 12 ส.ค. 2511
  • ผู้สร้าง กรมอู่ทหารเรือ

คุณลักษณะทั่วไป

  • ความยาวตลอดลำ 31.80 เมตร
  • ความกว้าง 5.40 เมตร
  • กินน้ำลึก 1.70 เมตร
  • ความเร็วสูงสุด 22 นอต
  • ระวางขับน้ำสูงสุด 124 ตัน
  • ระยะปฏิบัติการไกลสุด 973 ไมล์ ที่ 19 นอต
  • กำลังพลประจำเรือ 28 นาย

ระบบตรวจการณ์

  • เรดาร์เดินเรือ Decca

ระบบอาวุธ

  • ปืนใหญ่กล Bofors M3 ขนาด 40 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-CO1 ขนาด 20 มม. แท่นเดี่ยว 1 แท่น
  • ปืนกล U.S. Ordnance M2HB ขนาด .50 แท่นเดี่ยว 2 แท่น

ระบบขับเคลื่อนและเครื่องจักรช่วย

  • เครื่องจักรใหญ่ดีเซล MTU 12V 538 TB80-82 จำนวน 2 เครื่อง

เส้นทางเดินเรือ และพื้นที่ประกอบพิธีลอยอังคาร

  • จุดลอยอังคาร A กรณีคลื่นลมสงบ
  • จุดลอยอังคาร B กรณีมีคลื่นลม

    • 001-1
    • 001-2
    • 001-3
    • 001-4
    • 001-5
    • 002
    • 003
    • 004
    • 005
    • 006
    • 007
    • 009

มาตรการรักษาความปลอดภัยและเส้นทางการเดินเรือ
    พาหนะหลักที่มีความสำคัญคือ เรือที่นำผู้โดยสารไปประกอบพิธี ซึ่งจะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัย ให้กับทุกคนที่โดยสารไปกับเรือ ตั้งแต่เริ่มลงเรือไปจนถึงเสร็จสิ้นพิธีและขึ้นไปจากเรือ ในเรื่องนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การดูแลความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติโดยเคร่งครัด ดังนี้
    ๑. สวมเสื้อชูชีพให้เรียบร้อยตลอดเวลาที่อยู่ในเรือ
    ๒.  หากเกิดกรณีเกิดอุบัติเหตุทางเรือให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ควบคุมเรือ
    ๓.  ระมัดระวังการสัญจรภายในเรือขณะมีคลื่นลม
    ๔.  ไม่ควรอยู่ในที่/พื้นที่กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ประจำเรือ
    ๕.  ไม่อยู่ในอาณาบริเวณที่มีการใช้เชือก/ลวด เมื่อมีการเทียบ - ออกจากเทียบ
    ๖.  งดใช้เครื่องมือสื่อสารขณะฝนฟ้าคะนอง
    ๗.  ระมัดระวังการทรงตัวขณะมีคลื่นลมแรง เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกตัวเรือ
เส้นทางการนำเรือ  
    ใช้เส้นทางในการประกอบพิธี เริ่มตั้งแต่ ท่าเทียบเรือ บก.กร.กลางอ่าว - กระพระน้อย - เกาะพระ เกาะยอ (กรณีคลื่นลมสงบ) แต่หากมีคลื่นลมแรงให้ผู้ควบคุมเรือพิจารณานำเรือไปประกอบพิธีในพื้นที่ที่มีแนวกำบังคลื่นลม บริเวณเกาะหมู